ตักบาตร ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสารับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า ถวายจังหัน โดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิงต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สาหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน
การตักบาตรข้าวเหนียวถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวลาว
วิถียามเช้าของชาวหลวงพระบางที่ยังคงงดงามมีเอกลักษณ์และเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ก็เห็นจะไม่มีอะไรเกิน การตักบาตรข้าวเหนียว ที่ในทุกๆเช้าของแต่ละวัน ชาวหลวงพระบางผู้แนบแน่นในพระพุทธศาสนาจะตื่นขึ้นมาแต่เช้าเพื่อเตรียมข้าวของไว้สาหรับตักบาตรข้าวเหนียว หลังจากนั้นพอฟ้าเริ่มสาง เสียงตุ๊มๆๆของ กะลอ (เครื่องเคาะของลาวมีลักษณะคล้ายกลอง) ดังขึ้นจากหลายๆวัด บรรดาญาติโยมต่างก็จะหอบหิ้วข้าวของมานั่งอย่างสงบรอพระออกบิณฑบาต ซึ่งหากเป็นวันพระจะมีเหล่าฆราวาสมารอตักบาตรข้าวเหนียวเป็นจานวนมาก แต่หากเป็นวันปกติก็จะมีอยู่พอประมาณ พอสิ้นเสียงกะลอได้ไม่นาน เหล่าพระสงฆ์นับร้อยรูปก็จะเดินเรียงแถวยาวเหยียดมาให้ญาติโยมได้ใส่บาตรกัน จนถ้วนทั่ว ภาพเหล่านี้คือวิถีปกติของชาวหลวงพระบาง แต่สาหรับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ การตักบาตรข้าวเหนียวคือภาพอันชวนตื่นตาตื่นใจ เป็นไฮไลท์ของการท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ด้วยเหตุนี้เมื่อ อุปสงค์ การตักบาตรข้าวเหนียวของนักท่องเที่ยวมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทาให้ชาวลาวหลายๆ คนปิ๊งไอเดียนาข้าวเหนียวใส่กะติ๊บออกมาเร่ขายให้นักท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการตักบาตรข้าวเหนียว
การตักบาตรข้าวเหนียวในประเทศลาว
การตักบาตรข้าวเหนียวของหลวงพระบางยุคใหม่ในวันนี้ จึงมีการผสมผสานกันระหว่าง ภาพพระ เณรที่ออกบิณฑบาตเป็นแถวยาวเหยียด ภาพญาติโยมชาวหลวงพระบางในชุดพื้นเมืองนั่งใส่บาตรอย่างนอบน้อมแต่ว่องไวในการจกข้าวเหนียวลงบาตร ภาพนักท่องเที่ยวร่วมตักบาตรข้าวเหนียวด้วยความศรัทธาผสมความตื่นเต้นและอยากลอง ภาพนักท่องเที่ยวมาตั้งกล้องรอบันทึกภาพตักบาตรข้าวเหนียว และภาพแม่ค้าหาบกะติ๊บข้าวเหนียวเร่ขายให้กับนักท่องเที่ยวที่นับวันยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ ธรรมเนียมการตักบาตร นับเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมร่วมของชาวอาเซียนหลายประเทศ เพียงแต่แตกต่างหลากหลายในวิธีปฎิบัติ อาทิ การตักบาตรข้าวเหนียวของชาวหลวงพระบางในลาว ชาวบ้านจะปั้นแต่เพียงข้าวเหนียวเป็นก้อนเท่าหัวแม่มือ แล้วใส่บาตรพระให้ครบทุกรูปที่เดินผ่านหน้าบ้านในทุกเช้าจากนั้นจึงผลัดเวรกันนำสำรับข้าว ไปถวายให้พระเณรฉันกับข้าวเหนียวที่วัด